นับตั้งแต่ที่ อาเซียน (ASEAN) หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคแบบหลวมๆ ในความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967

ในขณะที่โลกพัฒนาเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา    ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการรวมตัวกันมากขึ้น และได้กำหนดวิสัยทัศน์ภายในปี ค.ศ. 2020 ของอาเซียนปรากฏในข้อหนึ่งว่า “เพื่อพัฒนาอาเซียนให้มีความเข้มแข็งในหลายๆ ด้าน รวมทั้งด้านการศึกษา โดยระบุให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกๆ ส่วนของเศรษฐกิจโดยผ่านการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา การพัฒนาทักษะ ศักยภาพ และการฝึกอบรม”

         ปัจจุบัน อาเซียนกำลังปรับแนวทางให้กลุ่มประเทศสมาชิกก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 ด้วยศักยภาพใหม่ ด้วยการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี ค.ศ. 2015 โดยประกอบด้วย 3 เสาหลัก ที่เรียกว่า ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community) ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community) กับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) โดยอาศัยกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปองค์กรสู่การเป็นสถาบันที่มีสถานะทางกฎหมาย และมีศักยภาพในการรับมือกับปัญหาต่างๆ อย่างมีเอกภาพมากขึ้น บนกรอบกฎหมายและกติกามารยาทของการอยู่ร่วมกัน ตลอดจนการทำงานของอาเซียนสนองประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็นการทำให้อาเซียนก้าวไปบนเส้นทางสายใหม่ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยร้อยรัดกับความร่วมมือกับนอกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศคู่เจรจา ในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Partnership for Development) ในการอำนวยให้อาเซียนก้าวไปในแนวทางของวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 อย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ทั้งในการยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ และการจัดการกับปัญหาใหม่ๆ ที่รุมเร้าอยู่ร่วมกัน

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) มีการกำหนดคุณลักษณะและองค์ประกอบของแนวทางการดำเนินการ ประกอบด้วย

1) การพัฒนามนุษย์ (Human Development): ส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสอย่างเที่ยงธรรมในการพัฒนาด้านต่างๆ  ส่งเสริมและลงทุนในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การฝึกอบรมและการเสริมสร้างขีดความสามารถ ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ ในการดําเนินกิจกรรมด้านสังคมและเศรษฐกิจ

2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection): ส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยลดความยากจน ส่งเสริมการคุ้มครองและสวัสดิการสังคม  การสร้างสภาพแวดล้อมที่มั่นคงปลอดภัย และปลอดยาเสพติด การเตรียมความพร้อมเรื่องภัยพิบัติ  และการจัดการกับข้อกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาสุขภาพ

3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights): ส่งเสริมความยุติธรรมและสิทธิของประชาชน ซึ่งสะท้อนอยู่ในนโยบายและทุกวิถีของชีวิต ซึ่งรวมถึงสิทธิและสวัสดิการสําหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและอ่อนแอ เช่น สตรี เด็ก ผู้สูงวัย ผู้พิการ และแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน

4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability):      มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เขียวและสะอาดโดยการปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ดิน น้ำ แร่ธาตุ พลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรทางทะเล การปรับปรุงคุณภาพน้ำและอากาศสําหรับภูมิภาคอาเซียน โดยอาเซียนจะมีส่วนร่วมในความพยายามของโลก ในการจัดการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและคุ้มครองชั้นโอโซน เช่นเดียวกับการพัฒนาและการปรับใช้เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมสําหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity): อัตลักษณ์อาเซียนเป็นพื้นฐานของผลประโยชน์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะสะท้อนการรวมเอกลักษณ์ ประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่แตกต่าง และความปรารถนาที่จะเป็นประชาคมอาเซียน  อาเซียนจะส่งเสริมการตะหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งเน้นค่านิยมที่เหมือนกันในการรวมตัวกันเป็นหนึ่งซึ่งมีความแตกต่างกัน

6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap): ลดช่องว่างระดับการพัฒนา โดยเฉพาะมิติทางสังคม ระหว่างประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ และประเทศสมาชิกใหม่ (กัมพูชา ลาว พม่า และ เวียดนาม: CLMV)

องค์ประกอบทั้ง 6 ประการข้างต้น สะท้อนถึงบทบาทอันสำคัญของการศึกษา และความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนามนุษย์ และการลดช่องว่างทางการพัฒนา เป็นประชาคมที่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น สร้างเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเสมอภาค บนเส้นทางซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในฐานะศูนย์กลางของความร่วมมือในอาเซียน

2. ประชาคมอาเซียนมีจุดเริ่มต้นโดยประเทศใดที่ได้รวมจัดตั้ง
ที่มา
https://praneearamdilokratblog.wordpress.com/
https://www.thai-aec.com/
https://asean.bangkok.go.th/


อาเซียน หรือ สมาคมประชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN)
ริเริ่มโดยประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของประชาชน
การเริ่มจัดตั้งประชาคมอาเซียน ไม่ได้เกิดขึ้นภายใต้การเจรจาครั้งเดียวระหว่าง 10 ชาติสมาชิก แต่แท้ที่จริงแล้ว ในตอนแรกเกิดจากการความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศก่อน อันได้แก่ ไทย อินโดนิเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จากนั้นชาติอื่นจึงได้เข้าร่วมในภายหลัง
ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา มีประชากรในภูมิภาครวมกันประมาณ 600 ล้านคน
การก่อตั้งอาเซียน
  สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาสา (Association of South-East Asia : ASA)  ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2504  โดยมีสมาชิก 3 ประเทศได้แก่ ฟิลิปปินส์ สหพันธ์มลายา และไทย  เป้าหมายหลักเพื่อช่วยเหลือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  แต่ราวปลายปี พ.ศ. 2505 เกิดข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างสหพันธ์มลายากับฟิลิปปินส์จึงได้ยุติความสัมพันธ์กันไป  รวมทั้งสิงคโปร์ได้ขอแยกตัวออกจากสหพันธ์มลายา ในปี พ.ศ.2508 และสหพันธ์มลายาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมาเลเซีย
     แต่เนื่องจากห้วงเวลานั้นเป็นยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองบนความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์  ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาคด้วยเช่นกัน  รวมทั้งมีความตึงเครียดอันเป็นผลมาจากสงครามเย็นซึ่งเป็นความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์  ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาค  ดังนั้น อินโดนีเซียและมาเลเซียจึงได้ริเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์ภายในภูมิภาคขึ้นมาใหม่ภายใต้การรวมตัวเป็น “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ “อาเซียน” (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN)  
     อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยการลงนามในปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่าปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)  โดยผู้แทนประเทศสมาชิกที่ร่วมนามก่อตั้งอาเซียนมี 5 ประเทศ ได้แก่ นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประทศอินโดนีเซีย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาแห่งชาติมาเลเซีย นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันต์ รัฐมนตรีต่างประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510  ณ วังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
     อาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อเร่งรัดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างกัน  ส่งเสริมพื้นฐานและเสถียรภาพในภูมิภาคโดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัตรสหประชาชาติ  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
     ในเวลาต่อจากนั้น ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2527 เวียดนามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2538  ลาวและพม่าเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542  เมื่อรับกัมพูชาเข้ามาเป็นสมาชิกทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ
     ทั้งนี้  การเข้าร่วมของประเทศสมาชิกใหม่เหล่านี้สอดคล้องกับปฏิญญาอาเซียน ซึ่งระบุไว้ว่าอาเซียนพร้อมรับทุกประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พร้อมที่จะรับเป้าหมาย หลักการและวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นสมาชิก

3.ประเทศที่ร่วมลงนามในปฎิิญญากรุงเทพ ประกอบด้วยประเทศอะไรบ้าง
ที่มา
https://bangkokdeclaration.wordpress.com/
https://th.wikipedia.org/
http://wiki.kpi.ac.th/
               ผู้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ(ฺBangkok Declaration)
มาตรฐาน
1.ประเทศอินโดนีเซีย อาดัม มาลิค รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง /รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
2.ประเทศมาเลเซีย ตุน อับดุล ราชัค รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม /รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
3.ประเทศฟิลิปปินส์ นาร์ซิโซ รามอส รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
4.ประเทศสิงคโปร์ เอส. ราชารัตนัม รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
5.ประเทศไทย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ปฏิญญาอาเซียน (อังกฤษASEAN Declaration) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (อังกฤษBangkok Declaration) เป็นเอกสารในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยในขณะนั้นมีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม โดยกำหนดหลักการเบื้องต้นของอาเซียน อย่างเช่น การร่วมมือกัน มิตรภาพและการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวต่อสถานการณ์ภายในประเทศสมาชิกทั้งหมด[1] วันดังกล่าวมีการจัดการเฉลิมฉลองเป็น วันอาเซียน[2]
                           

ประวัติความเป็นมา

ภายหลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตกเป็นอาณานิยมมหาอำนาจตะวันตก (ยกเว้นประเทศไทย) ได้รับการปลดปล่อยจากประเทศเจ้าอาณานิคมต่างๆ ประเทศเหล่านี้แม้จะได้รับเอกราชแล้ว สันติภาพที่ก็ยังหาได้เกิดขึ้นไม่ ทั้งนี้เนื่องจากเอกราชที่ได้รับมานั้นได้ก่อปัญหาต่างๆ ตามมาโดยเฉพาะ ปัญหาเส้นแบ่งพรมแดน ปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาค ปัญหาจากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ หนึ่งในความพยายามที่จะรวมตัวกันระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือการก่อตั้งกองกำลังซีโต้ (South East Asia Treaty Organization: SEATO) ซึ่งเป็นการร่วมตัวกันทางทหารเพื่อต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ตามแบบอย่างนาโต้ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) ในปี ค.ศ. 1954 อย่างไรก็ดีซีโต้ไม่อาจจัดได้ว่าเป็นองค์กรระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากมีเพียงประเทศไทยและฟิลิปปินส์ที่เป็นพันธมิตรเหนี่ยวแน่นกับสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่เป็นสมาชิกซีโต้ ซีโต้ไม่ได้ร่วมประเทศสหพันธรัฐมาลายา(มาเลเซียและสิงคโปร์ในปัจจุบัน) ซึ่งข้อตกลงความร่วมมือทางทหารกับสหราชอาณาจักร ส่วนประเทศอินโดนิเซียก็ไม่ได้เข้าร่วมองค์การนี้เนื่องจากมีนโยบายไม่ผูกพันธมิตรทางทหารกับฝ่ายใด (No alliance system) และอีกประการหนึ่งคือสมาชิกของซีโต้ก็มิได้จำกัดว่าต้องเป็นประเทศที่มีภูมิศาสตร์อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาในปี ค.ศ. 1961 จึงได้มีการจัดตั้งองค์การเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia: ASA) โดยประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทยและสหพันฐรัฐมาลายาร่วมกันลงนามในปฎิญญากรุงเทพ 1961 ( The Bangkok Declaration of July 31, 1961) เพื่อแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกันรักษาสันติภาพเสรีภาพพร้อมทั้งพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจร่วมกัน ASA จึงไม่ใช่ข้อตกลงทางทหารเพียงอย่างเดียวเหมือน SEATO แต่ ASA ขยายความร่วมมือไปทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งต่อไปจะเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการจัดตั้งASEAN
ในปี ค.ศ. 1963 สหพันฐรัฐมาลายา ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนิเซียได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรมาฟิลินโด (Maphilindo) เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะทำให้มีกระบวนการหารือ (mushawarah) และฉันทามติ (mufakat) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาตามคติของโลกมาเลย์ โดยประธานาธิปดีซูการ์โนของอินโดนิเซียได้คาดหมายว่า Maphilindo จะมีบทบาทในการส่งเสริมหลักการ “ทวีปเอเชียสำหรับชาวเอเชีย” เพื่อแก้ปัญหาและข้อพิพาทที่มีระหว่างชาวเอเชียขึ้น กระนั้นองค์กรนี้กลับล้มเหลวเสียก่อนที่จะมีผลใดๆในทางปฎิบัติเนื่องจากประเทศสมาชิกไม่สามารถไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ที่แตกต่างกันระหว่างชาติได้ อีกทั้งประเทศอินโดนิเซียและฟิลิปปินส์ต่างไม่พอใจการที่สหพันธรัฐมาลายาผนวกเอาดินแดนซาร์บาร์และซาราวักแล้วตั้งเป็นประเทศมาเลเซีย ข้อพิพาททางดินแดนเหนือเกาะเบอร์เนียวจนเป็นผลให้อินโดนิเซียดำเนินนโยบายเผชิญหน้าทางทหาร (Konfrontasi) ต่อประเทศมาเลเซีย (รวมถึงสิงคโปร์ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐ) อินโดนิเซียกล่าวหาว่าการตั้งประเทศมาเลเซียเป็นรูปแบบใหม่ของการล่าอาณานิคมที่ดำเนินการโดยสหราชอาณาจักรและพันธมิตร (the Neo-colonialist Machination of Great Britain)
เมื่อความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศต่างๆในภูมิภาค ได้เริ่มเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน โดยมีฐานความคิดมาจากการสร้างความมั่นคงทางการเมืองของภูมิภาค การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพ การขจัดข้อพิพาทในภูมิภาค การพัฒนาเศรษฐกิจ และการดำเนินการร่วมกันในรูปแบบของภูมิภาค ซึ่งแนวความคิดเหล่านี้ได้กลายเป็นฐานในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อมูลพื้นฐานและความหมาย

ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) นั้น เป็นปฏิญญาที่ได้มีการริเริ่มโดย ประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้มีการพูดคุยกันถึงความเป็นไปได้ในการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จุดเริ่มต้นนั้นมาจากการที่ประเทศอาณานิคมต่างๆได้รับเอกราชจากชาติตะวันตก ทำให้ประเทศเหล่านี้มีความหวงแหนในอำนาจอธิปไตยซึ่งนำไปสู่ปัญหาความไม่ไว้วางใจต่อประเทศข้างเคียง เช่น ประเทศอินโดนีเซียได้ดำเนินนโยบาย Konfrontasi (1963-1966) ต่อประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ข้อพิพาทในเรื่องเขตแดน คือรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักระหว่างอินโดนิเซียกับมาเลเซีย หรือกรณีการพิพาทกันในเรื่องรัฐซาบาห์ระหว่าง มาเลเซียกับฟิลิปปินส์
ดังนี้พันเอก(พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของประเทศไทยในขณะนั้น ได้เสนอให้มีเสนอการจัดตั้งสมาคมของภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการสร้างเสถียรภาพให้แก่ภูมิภาค โดยได้เชิญรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจากประเทศมาเลเซียและประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งคู่เป็นอดีตสมาชิกองค์การอาสา ( Association for Southeast Asia: ASA) ร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอินโดนิเซียและสิงคโปร์มาหารือที่ประเทศไทย การเจรจาในครั้งนั้นเป็นการเจรจากันแบบง่ายๆและเป็นกันเองโดยอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวและความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างผู้นำประเทศ ต่อมาได้มีการประชุมกัน ณ กระทรวงต่างประเทศ ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในวันที่ 8 สิงหาคม 1967 และได้ลงนามกันในปฏิญญากรุงเทพจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์อันเป็นความร่วมมือกันในระดับรัฐบาลของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเรียกว่า อาเซียน (ASEAN) ปฏิญญากรุงเทพนี้เป็นเพียงเอกสารขนาดสองหน้าซึ่งไม่มีผลในทางกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นปฏิญญาสั้นๆ ที่ระบุเพียงเหตุผลและเป้าหมายในการจัดตั้งองค์กรเท่านั้น อย่างไรก็ดีต่อมาหลักการที่ได้ระบุไว้ในปฏิญญากรุงเทพก็ได้พัฒนาเป็นหลักการที่มีนัยสำคัญต่อสนธิสัญญาที่มีผลทางกฎหมายในภายหลัง อาทิ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone 1995 เป็นต้น

เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ปฏิญญากรุงเทพ เกิดจากความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการพัฒนาอย่างรอบด้านทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดต่อกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งเป้าหมายสำคัญก็เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านคุณภาพชีวิต การศึกษา การค้าขาย และในด้านอื่นๆ ให้กับประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์ทางด้านการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นในด้านทางการเมืองภายในหรือในทางระหว่างประเทศก็ตาม โดยใช้การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม เป็นตัวนำการพัฒนาทางการเมือง
โดยในความเห็นของนาย อดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของประเทศอินโดนีเซียในขณะการเจรจาถึงความเป็นไปได้ในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน ได้ให้ความเห็นว่า วิสัยทัศน์ของอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง และมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะแข่งขันกับประเทศต่างๆ ภายนอกภูมิภาค อันจะทำให้ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีเสถียรภาพที่แข็งแกร่งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม

เนื้อหาและผลของปฏิญญา

ปฏิญญากรุงเทพมีขึ้นเพื่อก่อตั้งสมาคมเพื่อองค์กรที่เสริมสร้างความร่วมมือกันระหว่างประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปฏิญญานี้ได้กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่สำคัญไว้ 7 ประการ ได้แก่
1.พัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาในทางวัฒนธรรม อันเกิดมาจากความร่วมมือ และความพยายามร่วมกัน เพื่อให้เกิดรากฐานที่เข้มแข็งอันจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและ เพื่อให้เกิดสันติภาพแก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.ส่งเสริมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง ภายใต้หลักนิติธรรมและความยุติธรรม อันก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค รวมถึงการยึดมั่นตามกฎบัตรสหประชาชาติ
3. ส่งเสริมความร่วมมือ และการให้ความช่วยเหลือร่วมกัน ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการ
4.ส่งเสริม ให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการอำนวยความสะดวกต่อต่อค้นคว้า และวิจัย ทั้งในด้านของการศึกษา อาชีพ วิชาการ และการบริหารจัดการ
5.ให้มีการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งทางด้าน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การขยายตัวทางการค้า รวมถึงศึกษาปัญหาเกี่ยวกับ การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ การปรับปรุงการขนส่งสินค้า ในการให้ความสะดวกในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
6.ส่งเสริมวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
7.เสริมสร้างความร่วมมือ ประสานประโยชน์และความใกล้ชิดองค์กรต่างๆ ที่มีจุดประสงค์และเป้าหมายคล้ายคลึงกันทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับนานาชาติ

รัฐสมาชิก

ในเริ่มแรกของการดำเนินการตามปฏิญญาฉบับนี้นั้น มีประเทศที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเพียง 5 ประเทศ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ประเทศต่างๆก็ได้เข้ามาเป็นภาคีในปฏิญญากรุงเทพ จนครบทั้ง 10ประเทศ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ลงนามเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (โดยนาย อาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)
ประเทศมาเลเซีย ลงนามเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (โดยนาย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ลงนามเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (โดยนายนาชิโช รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)
ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ลงนามเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (โดยนาย เอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)
ประเทศราชอาณาจักรไทย ลงนามเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 (โดย พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)
ประเทศ บรูไนดารุสซาลาม ลงนามเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2527
ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ลงนามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2538
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลงนามเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540
ประเทศสหภาพพม่า ลงนามเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540
ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ลงนามเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542

4. ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่เท่าไร
ที่มา
https://aec.kapook.com/
https://www.lib.ru.ac.th/
https://www.61.47.41.107/



         
วันอาเซียน 8 สิงหาคม มีต้นกำเนิดจากวันก่อตั้งสมาคมอาเซียน ที่ตัวแทนจาก 5 ประเทศสมาชิก ได้มาร่วมลงนามความร่วมมือ ที่วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 

        อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5 ประเทศสมาชิก อันได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ได้มีการลงนามร่วมกัน ที่วังสราญรมย์ จ.กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก

           ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

           ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดให้ วันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันก่อตั้งสมาคมอาเซียน ถือเป็นวันสำคัญในการจัดกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ในแต่ละประเทศสมาชิก และในปัจจุบันได้มีการเรียกชื่อวันก่อตั้งสมาคมอาเซียนเพียงย่อ ๆ ว่า วันอาเซียน เพื่อให้สะดวกต่อการจดจำนั่นเอง
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
 ก่อนจะมาเป็นประชาคมอาเซียน
                ยังมีคนอีกมากที่ไม่ทราบว่าประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเป็นส่วนหนึ่งของในชีวิตของเรานั้น  ประเทศไทยเป็นประเทศที่คิดริเริ่มในการจัดตั้งสมาคมอาเซียน  โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในขณะนั้น (2510) คือ น.อ. (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ ตรงกับสมัยรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะนำผู้นำจากประเทศสมาชิกอีก 4 ประเทศ ประกอบด้วย มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์,  อินโดนีเซีย และสิงค์โปร์  เข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดตั้งสมาคมอาเซียนขึ้น  โดยใช้สถานที่บ้านพักตากอากาศที่แหลมแท่น ต. บางแสน อ. เมือง จ. ชลบุรี เป็นที่ดำเนินการประชุม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2510 และมีได้การจัดทำเอกสารข้อตกลงร่วมกัน เรียกว่า “Spirit of Bangsaen” หรือ จิตวิญญาณแห่งบางแสน  ต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามในปฏิญญาก่อตั้งอาเซียน ซึ่งเรียกว่า “ปฏิญญากรุงเทพ” (Bangkok Declaration)  หรือปฎิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration)
  

น.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์

                 อาเซียน (ASEAN) เกิด เวลา 10:50 น.   เช้าวันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 / ค.ศ.1967    ที่กระทรวงการต่างประเทศ วังสราญรมย์  กรุงเทพมหานคร  ราชอาณาจักรไทย
                ผู้ตั้งชื่อสมาคมนี้ว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซี่ยน (ASEAN มาจากคำเต็มว่า Association of Southeast Asain Nations) ก็คือ นายอาคัม มาลิค รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เหตุผลการจัดตั้งสมาคมอาเซียน ในสมัยนั้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขาดความสมัครสมานสามัคคีกัน กล่าวคือมาเลเซียกับฟิลิปปินส์มีความหวาดระแวงกันในเรื่องของพรมแดนที่เป็นเกาะและกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อน อินโดนีเซียก็ยังระส่ำระสายในเรื่องการเมืองภายใน ส่วนสิงคโปร์ก็เป็นเกาะเล็กๆ ที่รู้สึกไม่มั่นใจในการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ สำหรับไทยเองก็ไม่มั่นใจจากภัยการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่ลามมาจากประเทศเวียตนาม เขมร และลาว

ASEAN Community คืออะไร
                อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจที่โตมาก เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา  ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558

5. สมาคมอาสา ได้ถูกจัดขึ้นเมื่อไร

ที่มา
https://th.wikipedia.org/
https://my.dek-d.com/
https://chaly2012.wordpress.com
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษAssociation of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน[4] ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ[1]
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[6] หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น[7] เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558[8]
สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์  ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย

จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และ
ถนัด คอมันตร์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม"ปฏิญญากรุงเทพที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมพ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจาก  ความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอก  ที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

6.นายซิโซ รามอสเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศใด

ที่มา
https://th.answers.yahoo.com/
https:th49.ilovetranslation.com/
http://aseancorner.blogspot.com/






อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งได้ลงนามกันที่ วังสราญรมย์ 

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมี 

1 . นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศแห่งอินโดนีเซีย 

2 . นายดุล ราชัค บินฮุลเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย 

3 . นายนาร์ซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ 

4 . นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ 

5 . นายถนัด คอมันต์ รัฐมนตรีต่างประเทศไทย 

มาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและการเปลี่ยนแปลงของโลก 
ในขณะนั้นทั้ง 5 ประเทศ ได้เห็นพ้องต้องกันที่จะร่วมมือกันในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยใน 
ภูมิภาคเอเชีย ส่งเสริมความกินดีอยู่ดี ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และความใกล้ชิดทางสังคมและวัฒนธรรม 

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย 

1.   นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
2.   ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี กลาโหม  และรัฐมนตรีกระทรวง  พัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
3.   นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
4.   นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) 
5.   พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)